[row]
[col span__sm=”12″ span__md=”12″ padding__sm=”0px 0px 0px 5px” margin=”0px 0px 0px 15px” margin__sm=”0px 5 0px 5px”]
มารู้จักวิธีวิเคราะห์คู่แข่งด้วย auction insight ที่เราสามารถเช็คว่าบัญชี Google Ads ของคู่แข่งเราเป็นอย่างไร
การประเมิน, สำรวจ และ ตรวจสอบคู่แข่งนั้น ควรเป็นหนึ่งในสิ่งที่ควรทำสำหรับการทำ Google Ads ให้มีประสิทธิภาพ เพราะเราจะได้มีข้อมูลที่คู่แข่งใช้ในการทำการตลาดไม่ว่าจะเป็น คำโฆษณาที่คู่แข่งเราใช้, Keyword ที่คู่แข่งของเราบิดชนกับเรา หรือคำที่เค้าบิดแล้วชนะเรา (ตำแหน่งโฆษณาของคู่แข่งอยู่อันดับ 1 หรือสูงกว่าเราเวลาแสดงผล) การที่เรามีข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราสามารถนำข้อมูลกลับมาปรับ Campaign ของให้มีประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น
Auction Insight คืออะไร
Auction Insight คือ เครื่องมือของ Google Ads ที่เราสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการทำโฆษณาของคู่แข่งได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์การแสดงผลโฆษณาของคู่แข่งครับ ลองมาดูกันว่าเราสามารถใช้ auction insight ในการวิเคราะห์คู่แข่งอย่างไรได้บ้างครับ
วิธีการเข้า Auction insight
เมื่อบัญชี Google Ads ของเราทำงานมาได้ซํกพักนึง บัญชีของเราจะมีข้อมูลมากพอในการวิเคราะห์ ข้อมูลของคู่แข่ง โดยที่เราสามารถดูข้อมูลของเราที่ระดับ Campaign, Adgroup, หรือ Keyword ครับ วิธีเข้าใช้งานคือเมื่อเราอยู่ที่หน้า บัญชี Google Ads ของเราแล้วให้เลือกที่ “Campaign” ที่ด้านซ้ายแล้วเลือก “Auction Insights” ครับ ดังรูปข้างล่าง (อันนี้จะเป็นการเลือกดูแบบทั้ง account ครับ)
หากเราต้องการข้อมูลที่ลึกกว่าเดิม เราสามารถเลือกในกล่อง checkbox ตาม Campaign, Adgroup, Keyword แล้วเลือก auction insight อีกรอบนึงเพื่อการดูที่ละเอียดมากขึ้นครับ
Metric ต่างๆที่มีประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์คู่แข่ง มีดังนี้ครับ
– Impression share : อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่โฆษณาเราแสดงผลจริง เทียบกับจำนวนการแสดงผลทั้งหมดของ keyword เดี่ยวกัน ยกตัวอย่างเช่นในหนึ่งวัน keyword A เกิดการค้นหาและมีโฆษณาแสดงทั้งหมดรวมเราและคู่แข่ง 100 ครั้ง
โฆษณาของเราสามารถแสดงผลได้ 50 ครั้ง
impression share ของเราจะมีค่าเท่ากับ (50 / 100) * 100% = 50%
– Overlap rate : อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่โฆษณาเราแสดงผลพร้อมกับคู่แข่งของเราในหนึ่งวัน keyword A ที่เราซื้ออยู่มี overlap rate อยู่ที่ 30% เมื่อเทียบกับ
competitor B แสดงว่า ในหนึ่งวันอัตราส่วนที่โฆษณาของเราแสดงผลพร้อมกับ
competitor B ด้วย keyword A ประมาณ 30% จากทั้งหมด
– Position Above rate : อัตราส่วนของจำนวนครั้งที่โฆษณาของคู่แข่งแสดงผลในตำแหน่งที่ดีกว่าเรา
– Top of page rate : อัตราส่วนที่โฆษณาของเราแสดงผลอยู่ในส่วนบนของ search result หรือ 4 อันดับแรกนั่นเองครับ
– Abs. top of page rate : อัตราส่วนที่โฆษณาของเราแสดงผลอยู่ในตำแหน่งที่หนึ่งของ Search result
– Outranking share : อัตราส่วนที่โฆษณาของเราแสดงผลสูงกว่าคู่แข่งของเรา หรือ โฆษณาของเราแสดงผลโดยไม่มีคู่แข่งเลย
[block id=”blog-call-to-action”]
แล้วเราจะนำ auction insight ไปวิเคราะห์ได้อย่างไร
- การดูคู่แข่งใหม่ที่เริ่มใช้โฆษณา Google Ads เหมือนกัน – อันนี้มีประโยชน์มากครับเพราะเราจะรู้ได้เลยเว็บไซต์ของคู่แข่งเว็บไหนบ้างที่ใช้โฆษณา Google ads โดยใช้ keyword เหมือนกับเรา ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้อาจจะเป็นเว็บเก่าแต่กำลังหันมาใช้งาน Google Ads มากขึ้น หรือคู่แข่งน้องใหม่เลยที่กำลังทำโฆษณา Google Ads เหมือนกับเราครับ
- การดูค่า cpc ย้อนหลังเพื่อดู trend – เราสามารถปรับระยะเวลาเป็นแบบ เดือนหรือปี เพื่อย้อนดูว่า คู่แข่งของเรามีการใช้งาน Google Ads มากแค่ไหน เพื่อที่เราจะได้นำกลับมาปรับปรุงการทำโฆษณาของเราต่อไป
- ตรวจเช็คดูว่ามีใครซื้อ keyword เป็นชื่อ brand ของเราหรือไม่ – ข้อนี้จะมีประโยชน์เมื่อมีคู่แข่งซื้อ keyword ด้วยชื่อ brand ของเราครับ (ข้อนี้สามารถทำได้นะครับเผื่อใครไม่รู้) การซื้อ keyword เป็น brand คู่แข่งเป้นหนึ่งในวิธีในการเพิ่มการตัวเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น ซึ่งการที่ brand ของเราถูกคู่แข่งซื้อไป การใช้ auction insight แล้วเช็คระดับ keywordจะทำให้เราสามารถตรวจสอบได้ครับว่ามีคู่แข่งของเราทำหรือเปล่า
สรุป
auction insight เป็นหนึ่งในเครื่องมีอของ Google ads ที่มีประโยชน์มากในการทำ research คู่แข่งของเรา ยิ่งเรามีข้อมูลของคู่แข่งมากเท่าไร ยิ่งทำให้เราได้เปรียบในเชิงข้อมูล และสามารถทำให้เราปรับกลยุทธ์การตลาดของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไปครับ
ขอบคุณ source : https://searchengineland.com
[/col]
[/row]