[row]
[col span__sm=”12″ margin=”0px 5px 0px 05px”]
ในการทำงานในยุคสมัยปัจจุบันนั้น มักจะมีจัดการข้อมูลที่ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็น การวางแผนการทำงาน การคำนวนตัวเลข การทำกราฟ หรือ การทำสรุปผลข้อมูล รวมไปถึงการจดบันทึกต่างๆ ซึ่ง การใช้ excel หรือ google sheet มักจะเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดการกับข้อมูลต่างๆได้เป็นอย่างดี
วันนี้ผมได้รวบรวมสูตร excel หรือ google ที่ควรรู้ที่จะทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้นครับ
ในตัวอย่างทั้งหมดที่ใช้ จะสอนการใช้สูตรจาก Google Sheet นะครับ ซึ่งสามารถนำไปใช้ใน excel ได้เหมือนกันครับ
Excel พื้นฐานที่ควรรู้
พื้นฐานการใช้ Excel ที่ควรรู้
- การใช้คำนวณในทางคณิตศาสตร์ เช่นการ บวก ลบ คุณ หาร
การบวก =A1+B1
การลบ =A1-B1
การคูณ =A1*B1
การหาร =A1/B1
- การทำ text operation เช่น =A1&B1 คือการนำข้อความในช่อง A1ต่อกับข้อความในช่อง B1 และการใช้ช่องว่างในข้อความเช่น =A1&” “&B1 คือการแทร่องว่างเข้าไป
- การเช็คมากกว่าน้อยกว่า โดยเราจะได้ค่าการเช็คกลับมาสองแบบ ก็คือ TRUE หรือ FALSE
เช่น =A1>B1 จะเป็นการเช็คว่า A1 มากกว่า B1 หรือไม่การเช็คมากเท่ากับ หรือ น้อยกว่าเท่ากับ =A1>=B1 ก็สามารถเช็คได้เหมือนกันครับ
[scroll_to title=”สูตร sum” link=”#สูตรsum”]
สูตร excel sum
สูตรนี้แทบจะเป็นสูตรที่ถูกใช้บ่อยที่สุดเลยครับ เพราะนำไปกระยุกต์ใช้ได้เยอะ และยังสะดวกในการรวมผลลัพธ์การบวกของข้อมูลต่างได้ด้วย ซึ่งการบวกใน excel เราสามารถทำได้ด้วยวิธี =A+B โดยที่ A คือ cell ช่องแรก และ B คือ cell ช่องที่สองครับ แต่ถ้าหากเรามีข้อมูลเยอะ อาจจะพิมเองทั้งหมดไม่ไหว ดังนั้นเราสามารถใช้วิธี sum ได้ดังตัวอย่าง
=sum(จำนวนช่องแบบ range ที่ต้องการจะรวมผลบวก)
เช่น
=sum(A1:A10) – หรือการบวกตัวเลขตั้งแต่ A1 ถึง A10 ครับ
ไม่ยากเลยใช่มั้ยครับ แต่ในความเป็นจริงการบวกข้อมูลมักจะไม่ได้รวมข้อมูลง่ายๆ แบบนี้เพราะตัวข้อมูลมักจะมีความซับซ้อนอยู่ หรือมีเงื่อนไขในการรวม หากเราต้องการรวมผลลัพธ์ให้เร็วขึ้นตามเงื่อนไขที่เราต้องการ เราจะต้องใช้สูตรที่เรียกว่า sumif ครับ
สูตร excel sum แบบมีเงื่อนไข
ใน excel สูตร sumif จะมีสองเวอร์ชั่น ตามนี้ครับ
=sumif() – การรวมที่มีเงื่อนไขแค่ข้่อเดียว
=sumifs() – การรวมที่มีเงื่อนไขหลายข้อ
ในตัวอย่างนี้ผมจะสอนแบบ sumifs นะครับเพราะว่า sumifs เองสามารถใช้สำหรับเงื่อนไขเดียวได้ด้วย ดังนั้นรู้วิธีที่ใช้ได้หลายอย่างจะดีกว่าครับ
ตัวอย่างข้อมูลที่จะใช้
โจทย์: ต้องการหาราคารวมของหมวดหมู่ เฟอร์นิเจอร์ด้วย sumifs()
=SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criterion1, [criteria_range2, …], [criterion2, …])
sum_range – column ที่เราจะบวก โดยให้ใส่เป็น range เช่น c1:c10
criteria_range1 – column ของเงื่อนไขที่เราจะหา ใส่เป็น range เช่นกัน
criterion1 – เงื่อนไขที่เราต้องการจะหาครับ
ดังนั้นในโจทย์นี้ เราจะใช้สูตร sumifs แบบนี้ครับ
=SUMIFS(c2:c8, b2:b8, “เฟอร์นิเจอร์”)
สมมติว่าโจทย์เปลี่ยนเป็น อยากได้ผลรวมของ เฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้า เราก็สามารถเพิ่มเงื่อนไขต่อท้ายได้เลยแบบนี้ครับ
=SUMIFS(c2:c8, b2:b8, “เฟอร์นิเจอร์”,b2:b8,“เก้าอี้”)
ที่ต้องใส่ b2:b8 อีกรอบเพราะเป็นการเช็คเงื่อนไขที่สองดังนั้นเราจะต้องระบุ column ที่เราจะหาเงื่อนไข และ ตัวเงื่อนไข ของเราอีกรอบนึงครับ
tips: เวลาจะใส่ตัวหนังสือลงในสูตรที่ไม่ใช่ตัวเลข ถ้าเราไม่ได้ reference หรือการใส่ช่อง cell ต้องใช้ ” ” ที่ด้านหน้าและด้านหลังของตัวหนังสือด้วยนะครับ
[scroll_to title=”สูตรนับจำนวน” link=”#สูตรนับจำนวน”]
สูตร excel นับจํานวน
สูตรที่สองที่เป็นที่นิยมในการใช้ทำ excel ก็คือการนับจำนวนข้อมูลที่เหมือนกัน ในตารางหรือ table ของเราครับ สูตรนี้จะมีประโยชน์ถ้าเรามีข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเราไม่สามารถมานั่งนับเองได้แน่ๆ เพราะนอกจะตาลายแล้ว ยังจะมีโอกาสนับผิดด้วยครับ ดังนั้นการใช้สูตร excel การนับจำนวนเข้ามาช่วย จะช่วยให้ทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และได้ข้อมูลถูกต้องครับ
โจทย์: ต้องการหาจำนวนสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ “เสื้อผ้า” ว่ามีกี่ชิ้น?
อ้างอิงจากตารางเดิมนะครับ
หากเราต้องการหาจำนวนสินค้าที่อยู่ในหมวดหมู่ “เสื้อผ้า” หากแปลให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ มีคำว่า “เสื้อผ้า” กิดขึ้นกี่ครั้งในตารางช้อมูลของเรานั่นเองครับ ซึ่งเราจะใช้สูตร =countifs() ในการหาคำตอบครับ (countif มีสองแบบคล้ายๆกับ sumif นะครับซึ่งผมแนะนำว่าให้ใช้แบบมี s เหมือน sumifs ข้างบนครับจะครอบคลุมกว่า)
การใช้ countifs
=COUNTIFS(criteria_range1, criterion1, [criteria_range2, …], [criterion2, …])
criteria_range1 – column ที่เราจะบวก โดยให้ใส่เป็น range ในทีนี้ผมจะใช้ b1:b10 ครับ
criterion1 – คือเงื่อนไขที่เราต้องการจะนับ
ดังนั้นสำหรับโจทย์นี้เราจะใช้ countifs() แบบนี้ครับ
=countifs(B1:B10,“เสื้อผ้า”)
ถ้าหากจะนับแบบหลายเงื่อนไข เช่นอยากจะนับสินค้ากลุ่ม เฟอร์นิเจอร์ด้วย สามารถทำแบบนี้ได้ครับ
=countifs(B1:B10,“เสื้อผ้า”,B1:B10,“เฟอร์นิเจอร์”)
[scroll_to title=”สูตรวันที่” link=”#สูตรวันที่”]
สูตร excel วันที่
สูตรที่นิยมใช้อีกสูตรนึงคือการเรียกวันที่ครับ ไม่ว่าจะเป็นวันปัจจุบัน เมื่อวาน วันพรุ่งนี้ เราสามารถนำมาคำนวนระยะเวลาแบบวัน เดือน ปี ต่างๆต่อไปครับ
=today() – การเรียกวันปัจจุบันหรือวันนี้
=today()-1 – การเรียกวันที่ก่อนหน้าหรือเมื่อวานครับ
=today()+1 – การเรียกวันที่ของพรุ่งนี้ครับ
วันที่เราสามารถคิดแบบคณิตศาสตร์ได้เลยคือเราสามารถบวกลบกันได้ปกติเลยครับ
สูตร excel หาต้นเดือน และ สูตร excel หาสิ้นเดือน
เราจะใช้สูตร eom() หรือ end of month คือการเรียกหาวันสุดท้ายของเดือนโดยวิธีการใช้มีดังนี้ครับ
=eom(วันที่ที่เรากำลังสนใจ, ตัวเลขเพื่อระบุเดือนที่ต้องการ)
เช่น สมมติวันนี้วันที่ 25 Oct 2020
=eom(today() , 0 ) จะเท่ากับ 31 Oct 2020
=eom(today() , -1 ) จะเท่ากับ 30 Sep 2020
=eom(today() , 1 ) จะเท่ากับ 30 Nov 2020
eom() ยังสามารถใช้เพื่อเรียกหาวันต้นเดือนได้ครับด้วยวิธีนี้
ถ้าต้องการวันที่ 1 ของเดือน Oct 2020
=eom(today() , -1) + 1
ซึ่งจะเท่ากับ วันที่ 30 Sep 2020 แล้วเพิ่มไป 1 วันหรือวันที่ 1 Oct 2020 นั่นเองครับ
ตัวอย่างการใช้ date ใน excel ครับ
[scroll_to link=”#vlookup” title=”สูตร vlookup”]
สูตร vlookup
การใช้ vlookup ในการค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลนั้น เป็นสูตรที่นิยมมากสูตรหนึ่งเลยครับ แต่ด้วยตัวสูตรเองมีรายละเอียดเยอะ ผมได้ทำเนื้อหาแยกไว้ในอีกบทความนึงโดยเฉพาะ หากใครสนใจอยากศึกษาวิธีใช้ vlookup ให้ถูกต้อง สามารถอ่านได้จากบทความนี้ได้เลยครับ > การใช้ vlookup
สรุปสูตร Excel พื้นฐาน
ข้อดีของ excel คือความสามารถในการนำข้อมูลมาวืเคราะห์และประมวลผล เพื่อให้ได้คำตอบของโจทย์ที่เราต้องจะหา สูตร excel มีตั้งแต่สูตรพื้นฐานไปจนถึงสูตรขั้นสูงซึ่งมีหลายสูตรที่ถ้าหากเรารู้ เราจะสามารถทำงานได้เร็วและดียิ่งขึ้นแน่นอนครับ
[/col]
[/row]