เมื่อ GA4 หรือ Google Analytic ตัวใหม่ของทาง Google ได้เปิดตัวมา ซึ่งมีการประกาศว่าจะเป็น tool ที่จะเน้นการวัดผลด้วย event เป็นหลัก ซึ่งถ้าให้แปลง่ายๆก็คือ ทุกอย่างจะกลายเป็น event ทั้งหมดครับ (รวมไปถึง pageview ที่เราคุ้นๆกันจาก UA ตัวเดิมด้วย) แล้ว event ใน GA4 นั้นคืออะไร วันนี้ผมจะมาสรุปให้ฟังหลังจากที่ได้ลองศึกษาเองครับ บทความนี้อาจจะ technical หน่อยแต่หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกคนนะครับ
วันนี้ผมได้ทำ guide นี้ขึ้นมาสำหรับคนที่ยังสงสัยเกี่ยวกับ event ทั้ง 4 ประเภทของ Google Analytic4 ครับ
หากใครต้องการเป็น video tutorial แบบ step by step สามารถลองดูได้จาก vdo ด้านล่างที่ผมแปะไว้เลยครับ รวมไปถึงวิธีการอัพเกรดจาก UA ปกติเป็น GA 4 ครับ
สำหรับคนที่อยากทำความเข้าใจการทำงานของมัน ผมแนะนำให้ลองอ่านจากเนื้อหาข้างล่างประกอบด้วยนะครับ
เรามาเริ่มเนื้อหากันเลยครับ
เราต้องลืมการทำงานของ Event category, Event Action, Event Label ทิ้งไปก่อน
ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ผมจะพูดถึงการทำงานของ GA4 ทั้งหมดนะครับ ดังนั้นสิ่งที่เราเคยรู้จักกันมาเกี่ยวกับ event ของ UA อาจจะต้องพักมันให้หมดก่อนนะครับ
การทำงานของ GA4 event นั้นจะมีโครงสร้างที่ต่างจากเดิม โดยที่ทาง Google นั้นได้รวบการส่ง event แบบ category + action + label ให้เหลือแค่ event name + custom parameter เท่านั้น
ผมมองว่าตัว custom parameter นั้นสามารถมองให้เหมือนกับ event action หรือ event label แต่เราสามารถตั้งชื่อค่าต่างๆที่เราต้องการส่งเข้าไปได้ อย่างเช่น
Event name: line conversion
product_name: T-shirt
size: M
price: 200
Parameter สามตัวล่างที่ highlight ให้มองว่ามันคือ event action และ event label เดิมครับ เพียงแต่ว่าคราวนี้มันถูกตั้งชื่อว่า custom parameter และ เราสามารถตั้งชื่อได้เอง แปลว่าเราจะมี flexbility มากขึนในการส่งข้อมูลเข้า Google Analytic ครับ รวมไปถึงเราสามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้นให้กับ Google Analytic อีกด้วยครับ
โครงสร้าง Event ของ Google Analytic 4
GA4 นั้นได้มีการแบ่งประเภทของ Event ไว้ 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้ครับ
- Automatically collected events
- Enhanced Measurement events
- Recommended events
- Custom events
เรามาทำความเข้าใจ event แต่ละประเภทกันครับ
1. Automatically collected events
Event ประเภทแรก ของ GA4 คือ auto event ครับ หมายความว่า GA4 จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ให้ทันที ที่เราติดตั้ง Google Analytic เข้ากับเว็บไซต์ หรือ แอพพลิเคชั่น คุณสามารถดู list ของ event ที่ GA4 สามารถเก็บได้ทั้งหมดที่ link นี้ได้เลยครับ ซึ่งจะมีทั้งเว็บและแอพนะครับ
ในบทความนี้ผมจะเน้นในส่วนของเว็บไซต์นะครับ ซึ่ง list ของ event สำหรับเว็บที่ GA4 จะเก็บให้ทันทีมีดังนี้ครับ
- first_visit. อันนี้คือ event ที่บอกว่า มีคนที่พึ่งเข้าเว็บไซต์แอพของเราเป็นครั้งแรกครับ
- session_start. จะนับเมื่อคนเข้าเว็บไซต์เริ่มมีการใช้งานเว็บหรือแอพ ไม่ว่าจะเป็น การเลื่อนหน้าจอ หรือ การกดปุ่มต่างๆ
2. Enhanced Measurement
สำหรับประเภทที่สองนั้น จะเป็นส่วนเสริมของข้อมูลที่ Google Analytic พยายามจะเก็บเพิ่มให้กับผู้ใช้งานครับ โดยที่ข้อมูลในชุดนี้จะเรียกว่า data stream ซึ่งสามารถเข้าไปดูได้ในเมนู Admin > Data stream > Select Data Stream เพื่อดู event ในส่วนของ enhanced measurement ครับ ซึ่ง event ทั้งหมดจะมีดังนี้ครับ
- Page view (event name: page_view) : เก็บข้อมูลเมื่อเว็บไซต์โหลดสำเร็จ
- Scroll (event name: scroll) : เก็บข้อมูลเมื่อผู้ใช้งานเว็บไซต์ทำการ scroll ลงไปต่ำกว่า 90% ของหน้าเว็บไซต์ครับ
- Outbound link click (event name: click with the parameter outbound: true) : การเก็บข้อมูลคลิก แต่จะเป็น click ที่ออกไป url อื่นนะครับ เช่นการกดปุ่มเพื่อเข้าไปหน้า add line ครับ
- Site search (event name: view_search_results) : จะเป็นการเก็บข้อมูลหากมีการทำ internal search ซึ่งอาจจะเหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีช่องให้ผู้ใช้งานเสิชหาข้อมูลครับ
- Video Engagement (events: video_start, video_progress, video_complete) : เก็บข้อมูลการดู vdo ผ่านเว็บไซต์ครับ
- File Download (event name: file_download) : อันนี้เหมาะสำหรับเว็บที่มีการแจกไฟล์งานต่างๆฟรีเช่น pdf หรือ word ครับ ซึ่ง GA4 จะมีการเก็บข้อมูลให้หากตรวจเจอว่ามีการคลิกไฟล์บนเว็บไซต์ที่ลงท้ายด้วยสกุลไฟล์ตามนี้ครับ .pdf, .xls, .xlsx, .doc, .docx, .txt, .rtf, .csv, .exe, .key, .pps, .ppt, .pptx, .7z, .pkg, .rar, .gz, .zip, .avi, .mov, .mp4, .mpe, .mpeg, .wmv, .mid, .midi, .mp3, .wav, .wma
ซึ่งตรงนี้โดยปกติแล้วจะเปิดไว้เพื่อเก็บข้อมูลตลอด แต่ถ้าหากตัวไหนเราไม่ต้องการใช้งานก็สามารถเลือกเปิดปิดได้ ให้กดที่ปุ่มตามรูปด้านล่างครับ
3. Recommended Events
การเก็บข้อมูลในส่วนนี้นั้นจะต่างจากสองกลุ่มแรกครับ เพราะจะเหมาะกับการเก็บข้อมูลที่ GA4 ไม่ได้มีอยู่แล้ว เช่น การเก็บยอดขายบนเว็บไซต์ หรือเป็น event ที่เฉพาะเจาะจงมากๆ และเราต้องการเก็บข้อมูลเพิ่มเติมครับ เพราะแต่ละเว็บไซต์ มาจากธุรกิจที่ต่างกัน ดังนั้นอาจจะมี customer journey ที่ต่างกัน ซึ่งทาง Google เองได้มีการเตรียมข้อมูลไว้เผื่อในลักษณะของ template ให้เราเอาไว้ดูเป็นแนวทางสำหรับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้ไว้แล้วครับ
หากเว็บไซต์ของใครมีธุรกิจตามประเภทด้านบน ก็สามารถเข้าไปดู template ที่ทาง Google เตรียมไว้แล้ว จากนั้นสามารถใช้ Google Tag Manager ในการส่ง event parameter ตามที่ทาง Google แนะนำได้ครับ
4. Custom Events
สำหรับประเภทสุดท้ายของ event ก็คือ custom event หรือการกำหนด event ด้วยตัวเองทั้งหมดครับ วิธีนี้จะเหมาะกับเว็บไซต์ที่ต้องการเก้บข้อมูลที่ไม่ได้มีอยู่แล้วใน สามประเภท ด้านบนครับ ตัวอย่างเช่น การคลิกปุ่ม call to action ซึ่งไม่ได้มีอยู่แล้ว เราจะต้องกำหนดเอง เพราะแต่ละปุ่มมีข้อมูลหรือลักษณะที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้วครับ
ข้อดีของ GA4 ที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ เราสามารถตั้งชื่อได้เองตามที่เราต้องการ และเราส่ง parameter ต่างๆที่เราต้องการส่งให้ Google Analytic ได้อีกด้วยครับ แต่จะมี limit คือ 500 event ต่อ GA property นะครับ ดังนั้นหากเราสร้างมาเยอะๆ อาจจะต้องคอยคุมปริมาณ event ที่ส่งข้อมูลเข้า GA ด้วย
สรุปการทำงานของ Google Analytic 4
- ทุกอย่างที่ใน GA4 จะถูกเรียนว่า event ทั้งหมด
- ไม่มีการใช้ event category, event action, และ event label c]h;
- เราสามารถส่ง custom parameters ไปพร้อมกับ event ได้ แต่สูงสุดไม่เกิน 25 parameter ต่อ event
- ถ้าต้องการย้ายจาก Universal Analytic ไป Google Analytic4 เลย ควรมีการเตรียมชื่อ event และ parameter ให้พร้อมก่อนที่จะทำการย้าย
ด้วยความที่ GA4 นั้นเป็น product ใหม่ และผมว่าในอนาคต Google อาจจะบังคับทุกคนในการย้ายไปใช้ GA4 ทุกคน ดังนั้นควรทำความเข้าใจการใช้ GA4 ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆน่าจะเป็นการเตรียมตัวที่ดีก่อนที่จะโดนบังคับย้ายไปครับ